ใช้วัดสารอินทรีย์คาร์บอนทั้งหมดในตัวอย่างน้ำทุกชนิด เช่น น้ำธรรมชาติ, น้ำดื่ม, น้ำบริสุทธิ์, น้ำทะเล, น้ำกร่อย, น้ำเสียชุมชน, น้ำเสียอุตสาหกรรม, น้ำเสียที่ผ่านการบําบัดแล้ว โดยรูปของคาร์บอนอินทรีย์ที่วัดเป็น TOC ได้ มีทุกชนิด ได้แก่ Soluble, non volatile เช่นน้ำตาล, Soluble, volatile เช่น acetic acid, Insoluble, partially volatile เช่น น้ำมัน และ Insoluble, particulate เช่น เส้นใยเซลลูโลสเนื่องจาก TOC สามารถวิเคราะห์ได้รวดเร็วและใช้ตัวอย่างน้อยมาก
หมายเหตุ: ขอความอนุเคราะห์ผู้ที่ต้องการใช้บริการ ติดต่อกับอาจารย์ผู้ดูแลเครื่องโดยตรง ก่อนทำการจองผ่านระบบ
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างตั้งแต่ 10 ตัวอย่าง ขึ้นไป (บาท/ตัวอย่าง) 150 300 300
ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างน้อยกว่า 10 ตัวอย่าง (บาท/ตัวอย่าง) 250 500 500
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป็นเครื่องสำหรับทำแห้งตัวอย่าง (Freeze drying) โดยอาศัยหลักการแช่แข็งและระเหิดเอาน้ำออกจากตัวอย่างภายใต้ภาวะสุญญากาศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหาร และยา เช่น การเตรียมผลิตภัณฑ์ ยาฉีดชนิดผงสำหรับละลายน้ำ การเตรียมผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรให้อยู่ในรูปผงแห้ง การเก็บรักษาผัก ผลไม้ และเก็บรักษาผลิตภัณฑ์อาหารในรูปของแห้ง เช่น กาแฟ รวมถึงเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน ยาปฏิชีวนะ วิตามิน เลือด วัคซีนและแอนติไบโอติก เป็นต้น
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าใช้บริการ Freeze Dryer (ในเวลาราชการ) บาท/วัน 750 1,000 1,500
ค่าใช้บริการ Freeze Dryer (นอกเวลาราชการ) บาท/วัน 1,000 1,250 1,750
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สามารถทำแห้งได้อย่างรวดเร็วในผลิตภัณฑ์ที่ไวต่อความร้อน ทำการทดสอบได้ทั้งสารละลายน้ำและสารละลายอินทรีย์ แยกผลิตภัณฑ์ไซโคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตที่สูงและสูญเสียผลิตภัณฑ์น้อยที่สุด เหมาะสำหรับการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องทางด้านเภสัชศาสตร์ที่มีราคาแพง ด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และด้านส่วนประกอบของอาหาร
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าใช้บริการเครื่อง Mini spray dryer (บาท ต่อ ชม.) 120 225 450
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป็นเครื่องมือที่ใช้ศึกษาการกระจายตัวของขนาดอนุภาคของสารตัวอย่างอนุภาคที่เป็นสารแขวนลอยที่อยู่ในตัวกลางที่เป็นของเหลวมีความโปร่งใส สามารถวัดขนาดอนุภาคของสารตัวอย่างในช่วง 0.6 nm ถึง 6 um ได้ ควบคุมอุณหภูมิในช่องบรรจุตัวอย่างในช่วง 2 ถึง 90 องศาเซลเซียส แสดงผลการทดสอบแบบกราฟและข้อมูลตาราง ผ่านคอมพิวเตอร์ และสามารถวัดซ้ำได้หลายครั้งในระยะเวลาสั้น
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Particle size analyzer/ Zetasizer (บาท ต่อ ชม.) 400 600 800
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เป็นเครื่องทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุทางการแพทย์ หรือวัสดุที่มีลักษณะใกล้เคียง อาทิ เช่นแผ่นโลหะดามกระดูก (plate) สกรู (screw) nail ข้อเทียม (prosthesis) โลหะดามกระดูกสันหลัง (spinal instrument) เป็นต้นสามารถทดสอบได้ทั้งแบบ Static, Dynamic / Fatigueและ Torsional Modes ครอบคลุมถึงระบบ 3 มิติ ได้ในเครื่องเดียวกันโดยมีการทำงานควบคุมระบบอัตโนมัติและประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
การใช้เครื่องทดสอบชีวกลศาสตร์ของวัสดุ (บาท ต่อ ชม.) 300 3,000 6,000
ค่าบริการในการทดสอบตามวิธีการทดสอบ ASTM F543-17 ภายใต้มาตรฐาน ISO/IEC17025:2017
ตัวอย่างละ 2,000 บาท (ขั้นต่ำ 5 ชิ้น/ครั้ง)
ใบรับรองความสามารถห้อง Biomechanic (No. 1737) ** หากต้องการใช้ method นี้ โปรดติดต่อ คุณต้นกล้า อินสว่าง อีเมล์ tonkin@kku.ac.th (ผู้จัดการด้านเทคนิค)**
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หมายเหตุ:
1. เครื่องมือสามารถทดสอบสมบัติเชิงกลของ วัสดุ ได้แก่ การดึงยืด (Tensile test) การกด อัด (Compress test) และการดัดโค้ง (Flexural test) เป็นต้น
โหลดเซลล์ มี 2 ขนาด ได้แก่ 250 นิวตัน และสูงสุด 10 กิโลนิวตัน
2. สําหรับค่าตอบแทนนอกเวลาราชการให้ อ้างอิงตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอก เวลาราชการ พ.ศ.2550
เครื่องวัดขนาดของอนุภาคนาโนเป็นเครื่องที่สามารถวัดขนาดของอนุภาคที่เล็กมากในระดับนาโนเมตรและสามารถวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าบนพื้นผิวของอนุภาค รวมไปถึงการวัดน้ำหนักโมเลกุลของสารได้ โดยสามารถควบคุมการทำงานและประมวลผลได้ด้วยระบบคอมพิวเตอร์
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Zetasizer Nano ZS (บาท ต่อ ชม.) 400 600 800
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
+++ ประกาศ งดการให้บริการ เนื่องจากเครื่องมืออยู่ระหว่างการส่งซ่อม +++
หากต้องการใช้ "วัดขนาดของอนุภาค" สามารถใช้เครื่อง Particle size analyser (คณะเภสัชศาสตร์) เเทนได้ เเละเเจ้งผู้ดูแลทุกครั้ง