เป็นเทคนิคสาหรับแยกสารตัวอย่างที่เป็นสารผสม โดยเปลี่ยนสารผสมให้เป็นไอที่อุณหภูมิหนึ่ง แล้วให้ไอของสารเหล่านั้นผ่านเข้าไปยัง Column ที่บรรจุด้วยเฟสคงที่ (Stationary Phase) โดยอาศัยการพาไปของเฟสเคลื่อนที่ (Mobile Phase) หรือ Carrier Gas องค์ประกอบของสารผสมที่มีความสามารถในการเคลื่อนที่และการกระจายตัวผ่านเฟสคงที่ต่างกันจะแยกออกจากกันโดยมีตัวตรวจวัดชนิด FPD (Flam Photometic detector) ใช้สำหรับการวิเคราะห์ Organosulfer Compound และชนิด Thermal Conductivity detector (TCD)
หมายเหตุ: ขอความอนุเคราะห์ผู้ที่ต้องการใช้บริการ ติดต่อกับอาจารย์ผู้ดูแลเครื่องโดยตรง ก่อนทำการจองผ่านระบบ
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าใช้เครื่อง Gas chromatography (GC) (บาท ต่อ ชม.) 200 300 300
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โครมาโทกราฟฟีของเหลวประสิทธิภาพสูง (Ultra performance liquid chromatography (UPLC)) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการแยกและวิเคราะห์หาปริมาณสารที่พัฒนาต่อมาจากเทคนิค High performance liquid chromatography (HPLC) โดยการออกแบบเครื่องมือให้สามารถทำงานได้ที่ความดันสูงและใช้คอลัมน์ (column) ที่มีอนุภาคขนาดเล็ก ทำให้ประสิทธิภาพของการแยก (resolution, Rs) ดีขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากเทคนิค HPLC ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในห้องปฏิบัติการในปัจจุบันยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น โครมาโทแกรมที่ได้จากการวิเคราะห์มีฐานพีคกว้าง ทำให้การแยกของสารที่มีค่ารีเทนชั่นไทม์ (retention time, tr)ใกล้กันมากๆแยกได้ไม่ดีเท่าที่ควร ความไว (sensitivity) ต่ำ และใช้เวลาในการวิเคราะห์ตัวอย่างนาน จึงได้มีการพัฒนาเทคนิค UPLC เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการแยกสูงขึ้น รวมทั้งลดเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นการลดข้อจำกัดของการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HPLCและสามารถนำไปประยุกต์ใข้ในการวิเคราะห์หาสารต่างๆในอุตสาหกรรมหลายๆประเภท
เทคนิค UPLC เหมาะสำหรับการวิเคราะห์สารที่มีความเข้มข้นต่ำ ผสมรวมกันหลายชนิดในตัวอย่างเดียวกัน ให้ค่าการแยกและความไวในการวิเคราะห์สูง สามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ครั้งละหลายตัวอย่าง เนื่องจากใช้เวลาในการวิเคราะห์สั้น และประหยัดตัวทำละลายที่ใช้ในการวิเคราะห์ เพราะการปรับอัตราเร็วของเฟสเคลื่อนที่จะต้องสอดคล้องกับพื้นที่หน้าตัดของคอลัมน์ เมื่อคอลัมน์ที่ใช้ในการวิเคราะห์สั้นและมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลง ปริมาณของตัวทำละลายที่ใช้ในการวิเคราะห์ลดลงด้วย
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าเปิดเครื่อง ครั้งละ 300 บาท
ค่าบริการกรณีไม่ได้นำคอลัมภ์ และเฟสเคลื่อนที่มาเอง (บาทต่อ ชม.) 150 300 500
ค่าบริการกรณีที่นำคอลัมภ์ และเฟสเคลื่อนที่มาเอง (บาทต่อ ชม.) 100 250 450
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เครื่องวิเคราะห์ชนิดและปริมาณของกรดอะมิโน โดยใช้ เทคนิคลิควิดโครมาโตกราฟี ที่แยกสารด้วยวิธีแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Chromatography) และเทคนิคตรวจวัดสีของสารอนุพันธ์กรดอะมิโนกับนินไฮดริน (Ninhydrin) หลังจากผ่านการแยกในคอลัมน์ (Post column) โดยมีการตรวจวัดที่ความยาวคลื่น 440 nm และ 570 nm สามารถวิเคราะห์ปริมาณกรดอะมิโน 17 ชนิด ได้แก่ Aspartic acid Threonine Serine Glutamic acid Proline Glycine Alanine Cystine Valine Methionine Isoleucine Leucine Tyrosine Phenylalanine Lysine Histidine และArginine
อัตราค่าธรรมเนียม **
เนื่องจากกำลังอยู่ในระหว่างทำประกาศอัตราค่าบริการ ในระหว่างนี้จะเก็บค่าบริการโดยอ้างอิงจากสัญญาบริการวิชาการ โปรดติดต่อนักวิทยาศาสตร์ประจำเครื่อง
(กรณีตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างและสารมาตรฐานมากกว่า 10ตัวอย่าง/ชนิด ขึ้นไป คิดอัตราค่าบริการเพิ่ม 300บาท/ ตัวอย่าง/ ชนิด) |