รายการเครื่องมือและบริการทั้งหมด

1. Transmission electron microscope (TEM)

ยี่ห้อ : FEI ,Model : TECNAI G2 20
ผู้ดูแล : นางสาวกุณช์ธยาน์ ราชพลแสนวงศ์ โทร. 087-068-0025 Email: phikra@kku.ac.th


ใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์ ถ่ายภาพอินทรียสารและอนินทรียสารในระดับนาโน (>0.1 nm) โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์หรือตัวอย่างที่ต้องการศึกษาซึ่งผู้ศึกษาต้องเตรียมตัวอย่างให้ได้ขนาดบางเป็นพิเศษวางบน grid ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.05 mm
โดย TEM มีฟังก์ชันการทำงานดังนี้
1. Bright field image
2. SAED (Selected Area Electron Diffraction)
3. STEM
4. วิเคราะห์ธาตุด้วย EDS (Energy Dispersive x-ray spectroscopy)

หมายเหตุ** ใช้งานนอกเวลาราชการกรุณาติดต่อนักวิทยาศาสตร์ผู้ดูแลเครื่องมือโดยตรง

อัตราค่าธรรมเนียม
                          
รายการ                              
ค่าวิเคราะห์ด้วย TEM และ EDX (บาท ต่อ ครั้ง)  
ภายใน มข.                           สถานศึกษาภายนอก                 เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
   1,800                                        3,500                                       3,500

**ระยะเวลา 3 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น.

ที่อยู่สำหรับจัดส่งตัวอย่าง

คุณกุณช์ธยาน์ ราชพลแสนวงศ์
งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มข. 123 ต.ในเมือง อ.เมือง จ. ขอนแก่น 40002 
(ส่งตัวอย่างวิเคราะห์)
 
หมายเหตุ: กรณีส่งตัวอย่างให้เตรียมตัวอย่างใส่กริดให้เรียบร้อย พร้อมวิเคราะห์ และรายละเอียดว่าเป็นตัวอย่างอะไร วิเคราะห์อะไรบ้าง มีตัวอย่าง paper ด้วยยิ่งดี ถ้าตัวอย่างไม่เรียบร้อยอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวอย่างเพิ่มเติม // เเละให้ลูกค้าติดตามการจัดส่ง (tracking no.) เองทุกครั้ง 

อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พร้อมให้บริการ : คณะวิทยาศาสตร์ อาคาร SC.07 ชั้น 1 ห้อง 7102
คู่มือ : ดาวน์โหลดคู่มือ
ค่าบริการ(ภายใน) : ค่าวิเคราะห์ด้วย TEM และ EDX (ในเวลาราชการ)/ ครั้ง = 1800 บาท
ค่าบริการ(ภายนอก) : ค่าวิเคราะห์ด้วย TEM และ EDX (ในเวลาราชการ)/ ครั้ง = 3500 บาท
ค่าบริการ(เอกชน) : ค่าวิเคราะห์ด้วย TEM และ EDX (ในเวลาราชการ)/ ครั้ง = 3500 บาท

2. Transmission Electron Microscope ชนิด Field Emission (FE-TEM)

ยี่ห้อ : Thermo Scientific ,Model : Talos F200X G2
ผู้ดูแล : นางสาวกุณช์ธยาน์ ราชพลแสนวงศ์ โทร. 087-068-0025 Email: phikra@kku.ac.th

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านชนิดฟิลด์อีมิสชัน สามารถตรวจวิเคราะห์โครงสร้างของเซลล์
สารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์ได้ถึงระดับนาโน (≥0.1 nm) โดยลำอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์หรือตัวอย่างที่ต้องการศึกษา ซึ่งผู้ศึกษาต้องเตรียมตัวอย่างให้ได้ขนาดบางเป็นพิเศษวางบน grid ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3.05 mm
โดย TEM มีฟังก์ชันการทำงานดังนี้
1. Bright field image
2. SAED (Selected Area Electron Diffraction)
3. STEM mapping 
4. วิเคราะห์ธาตุด้วย EDS (Energy Dispersive x-ray spectroscopy)
5. Tomography

หมายเหตุ** ใช้งานนอกเวลาราชการกรุณาติดต่อนักวิทยาศาสตร์ผู้ดูแลเครื่องมือโดยตรง

อัตราค่าธรรมเนียม

รายการ ภายใน ภายนอก เอกชน
ค่าใช้เครื่อง FE-TEM 2,000/ชม. 3,000/ชม. 3,000/ชม.
ค่า C-CU grid 200/ชิ้น 200/ชิ้น 200/ชิ้น
ค่าเตรียมตัวอย่างแบบผง 500/ครั้ง 500/ครั้ง 500/ครั้ง


ที่อยู่สำหรับจัดส่งตัวอย่าง
คุณกุณช์ธยาน์ ราชพลแสนวงศ์
งานวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มข. 123 ต.ในเมือง อ.เมือง จ. ขอนแก่น 40002 
(ส่งตัวอย่างวิเคราะห์)
 
หมายเหตุ: กรณีส่งตัวอย่างให้เตรียมตัวอย่างใส่กริดให้เรียบร้อย พร้อมวิเคราะห์ และรายละเอียดว่าเป็นตัวอย่างอะไร วิเคราะห์อะไรบ้าง มีตัวอย่าง paper ด้วยยิ่งดี ถ้าตัวอย่างไม่เรียบร้อยอาจจะมีค่าใช้จ่ายในการเตรียมตัวอย่างเพิ่มเติม // เเละให้ลูกค้าติดตามการจัดส่ง (tracking no.) เองทุกครั้ง 

พร้อมให้บริการ : อาคาร Sc. 07 ชั้น 1 ห้อง 7102
คู่มือ : ดาวน์โหลดคู่มือ
ค่าบริการ(เอกชน) : = 3000 บาท

3. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดชนิดฟิล์ดอิมิชชั่น (FE-SEM วิศวะ)

ยี่ห้อ : TESCAN ,Model : MIRA
ผู้ดูแล : นายอกนิษฐ์ สันธินาค โทร 0927829658 เมล์ aganis.su@kkumail.com


ศึกษาลักษณะของผิววัตถุโดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิวของวัตถุทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะเป็น 3 มิติถ่ายภาพอินทรียสารและอนินทรียสารในระดับนาโน (>1.2 nm) มีกําลังขยายสูงถึง 1,000,000 เท่าใช้ศึกษาโครงสร้างบริเวณชั้นผิวของตัวอย่างรองรับงานในการศึกษาสภาพพื้นผิวของตัวอย่างทางกายภาพ ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม อาทิเช่น Energy Dispersive X-Ray Spectroscopy เพื่อใช้วิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของวัสดุ

อัตราค่าธรรมเนียม
                          
รายการ                                ภายใน มข.              สถานศึกษาภายนอก           เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าวิเคราะห์ด้วยกล้อง FE-SEM  (บาท/ชม.)                600                                     1,200                                        1,200
ค่าบริการเคลือบทอง (สำหรับตัวอย่างที่ไม่นำไฟฟ้า)  300 บาท/ครั้ง ทุกหน่วยงาน

อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พร้อมให้บริการ : คณะวิศวกรรมศาสตร์อาคาร EN08 ชั้น 1 ห้องปฏิบัติการจุลทรรศน์แบบส่องกราด "
คู่มือ : ดาวน์โหลดคู่มือ
ค่าบริการ(ภายใน) : ภายในมหาวิทยาลัย ค่าวิเคราะห์ด้วย SEM /ชั่วโมง = 600 บาท ค่าบริการเคลือบทอง (สำหรับตัวอย่างที่ไม่นำไฟฟ้า) /ครั้ง = 300 บาท = 600 บาท
ค่าบริการ(ภายนอก) : ค่าวิเคราะห์ด้วย SEM /ชั่วโมง = 1,200 บาท ค่าบริการเคลือบทอง (สำหรับตัวอย่างที่ไม่นำไฟฟ้า) /ครั้ง = 300 บาท = 1200 บาท
ค่าบริการ(เอกชน) : ค่าวิเคราะห์ด้วย SEM /ชั่วโมง = 1,200 บาท ค่าบริการเคลือบทอง (สำหรับตัวอย่างที่ไม่นำไฟฟ้า) /ครั้ง = 300 บาท = 1200 บาท

4. Atomic force microscope (AFM)

ยี่ห้อ : PARK ,Model : XE-120
ผู้ดูแล : นางสาวสาวิณี นาสมภักดิ์ โทร 0942891461 sawina@kku.ac.th ดร.อภิโชค ตั้งตระการ Email:nateta@kku.ac.th 08-3142-1085

ถ่ายภาพพื้นผิวในระดับนาโน ใช้ศึกษาพันธะที่มีความแข็งแรงสูงถึงพันธะโควาเลนต์ ทั้งภายในและระหว่างโมเลกุล โดยเฉพาะ pulling experiment ในชีวโพลิเมอร์เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และกรดนิวคลีอิก มี Jumping mode ใช้ในการวัดตัวอย่างทางชีววิทยาที่อยู่ในของเหลว สามารถวิเคราะห์คุณสมบัติพื้นฐานของพื้นผิวอย่าง เช่น ความนาไฟฟ้า ความแข็งได้

*** ผู้ขอใช้บริการจะต้องจัดหา Cantilever หรือ tip เอง ซึ่งจะต้องเหมาะสมกับตัวอย่าง โดยอาจจะปรึกษากับอาจารย์หรือนักวิทยาศาสตร์ผู้ดูแลเครื่องมือ***

**หมายเหตุ**
1. กรณีที่เป็นสารแม่เหล็ก และสารที่เปียกชื้นต้องปรึกษาอาจารย์ผู้ดูแลเครื่องก่อนใช้เท่านั้นเพราะทำให้เครื่องเสียหายได้
2. เครื่อง AFM จะไม่มีการเปิดให้บริการโหมดพิเศษ สำหรับวัสดุหรือโพลิเมอร์ที่มีความแข็งมาก เนื่องจากอาจทำให้ระบบการสแกนเสียหายได้ง่าย 
3. ไม่สามารถใช้กับสารที่ไม่ถูกตรึงอยู่กับที่ได้

อัตราค่าธรรมเนียม
                          
รายการ                                ภายใน มข.              สถานศึกษาภายนอก           เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าวิเคราะห์ด้วยกล้อง AFM  (บาท/ครั้ง)                1,500                                     3,000                                        3,000

อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

พร้อมให้บริการ : คณะวิทยาศาสตร์ อาคาร SC07 ชั้น 1 ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
คู่มือ : ดาวน์โหลดคู่มือ
ค่าบริการ(ภายใน) : ภายในมหาวิทยาลัย ค่าใช้บริการ AFM / ครั้ง = 1500 บาท
ค่าบริการ(ภายนอก) : ค่าใช้บริการ AFM / ครั้ง = 3000 บาท

5. เครื่องตรวจวิเคราะห์ตัวอสุจิด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (CASA)

ยี่ห้อ : Hamilton Thorne ,Model : CEROS II
ผู้ดูแล : นางสาวณัฐญา ดวงหะคลัง โทร 0944165324 อีเมล d.natthaya96@gmail.com

ใช้เพื่อตรวจวิเคราะห์ การเคลื่อนไหว (Motility) รายงานผลการนับ (Total count) ความเข้มข้น(Concentration) ลักษณะการเคลื่อนที่ (Progressive Motility) ของอสุจิในน้ำเชื้อของสัตว์  เพื่อรายงานผลและเพื่อการเก็บข้อมูล

อัตราค่าธรรมเนียม
                                            
รายการ                                                                                        ภายใน มข.              สถานศึกษาภายนอก           เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
ค่าวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Computer aided sperm analysis (CASA) รายชั่วโมง  (บาท/ชม.)                200                                     350                                        500
ค่าบริการ รายตัวอย่าง ตัวอย่างละ 200 บาท ทุกหน่วยงาน

อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พร้อมให้บริการ : ห้องปฏิบัติการวิจัยปรับปรุงพันธ์สัตว์ ตึกอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชั้น 4"
คู่มือ : ดาวน์โหลดคู่มือ
ค่าบริการ(เอกชน) : = 500 บาท

6. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพร้อมอุปกรณ์โฟกัสไออนบีม (FESEM & FIBSEM)

ยี่ห้อ : FEI ,Model : Helios NanoLab G3 CX
ผู้ดูแล : นายศักดิ์สิทธิ์ สุวรรณ์ โทร.0895766004 อีเมล์ sakssu@kku.ac.th

Field Emission Scanning Electron Microscopy (FESEM) และ ระบบ Focus Ion Beam (Focus Ion Beam : FIB)
FESEM สามารถถ่ายภาพด้วยกำลังขยายสูงด้วยโหมด Secondary Electron (SE) และสามารถถ่ายภาพด้วยกำลังขยายสูงด้วยโหมด Back-scatter Electron (BSE)
EDS สามารถวิเคราะห์หาองค์ประกอบของธาตุ ด้วยรูปแบบต่าง ๆ เช่น Mapping, Point and ID, Line Scan
FIB ขุดเจาะตัวอย่างเพื่อถ่ายภาพ Cross section การขึ้นรูป 3 มิติ และการเตรียมตัวอย่างสำหรับเครื่อง TEM (TEM Lamela)
 
อัตราค่าธรรมเนียม
รายการ    ภายใน มข. สถานศึกษาภายนอก เอกชน/รัฐวิสาหกิจ
การถ่ายภาพด้วย SEM, การวิเคราะห์ธาตุด้วย EDS, การใช้งาน FIB (เหมาจ่าย บาท/ชม.)  1,200 1,800   3,000
การฉาบด้วยผิวทองคำ (Coat ทอง)  (บาท/ครั้ง) 200 400 600
การทำตัวอย่างแห้งที่จุดวิกฤต (บาท/ครั้ง)   400 800 1,200
 
อ้างอิงจาก: ประกาศ มข ฉบับที่ 1076/2565 เรื่อง อัตราค่าธรรมเนียมการใช้บริการเครื่องมือวิจัยของศูนย์เครื่องมือวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พร้อมให้บริการ : อาคาร SC.07 ชั้น 1 คณะวิทยาศาสตร์"""
คู่มือ : ดาวน์โหลดคู่มือ
ค่าบริการ(เอกชน) : = 3000 บาท

7. กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (E-SEM)

ยี่ห้อ : ThermoFisher Scientific ,Model : Quattro-S E-SEM
ผู้ดูแล : นายยุทธยา เข็มจีน โทร. 088-166-2645 อีเมล์ yuttkh@kku.ac.th


กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดประสิทธิภาพสูง มีเทคโนโลยี E-SEM ที่รองรับการศึกษาชิ้นงานที่มีความชื้นสูง ครีมของเหลว หรือตัวอย่างชีวภาพ และการให้ความร้อนสูงเพื่อศึกษาทางวัสดุศาสตร์
มีระบบสภาวะสุญญากาศ (Vacuum mode) ที่มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-          แหล่งกำเนิดอิเล็กตรอนเป็นแบบ Field Emission Gun (FEG)
-          High vacuum สามารถทำระดับความดันได้ <6x10-4 ปาสคาล
-          Low vacuum สามารถทำระดับความดันได้ถึง 200 ปาสคาล
-          E-SEM ความดัน สามารถทำระดับความดันได้ถึง 4000 ปาสคาล และสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ตั้งแต่ -20 องศาเซลเซียส ถึง 50 องศาเซลเซียส

อัตราค่าบริการ ***
ยังอยู่ในกระบวนการดำเนินการพิจารณาประกาศ


 

พร้อมให้บริการ : ตึก SC-07 ชั้น 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น"
คู่มือ : ดาวน์โหลดคู่มือ

8. กล้องจุลทรรศน์โฮโลโทโมกราฟฟี (Holotomographic microscope)

ยี่ห้อ : TOMOCUBE / Nikon ,Model : รุ่น HT-2H
ผู้ดูแล : นายยุทธยา เข็มจีน โทร. 088-166-2645 อีเมล์ yuttkh@kku.ac.th และ นายต้นกล้า อินสว่าง โทร. 085-681-7567 Email: tonkin@kku.

เป็นชุดกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้เทคนิค 3D Holotomography ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ในการวิเคราะห์ภาพ โดยการนำค่าการเบี่ยงเบนของแสง (Optical diffraction tomography; OTD) ของคลื่น X-ray มาทำการวิเคราะห์ค่าดัชนีหักเหแสง (Refractive index; RI) และสร้างออกมาเป็นรูป 3 มิติ ทำให้สามารถศึกษาเซลล์ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ได้แบบเรียลไทม์ และได้ภาพออกมาโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย้อมสีหรือสารเรืองแสง ทั้งในรูปแบบ 2 มิติ (2D), 3 มิติ (3D) และ Time-lapse ซึ่งค่าดัชนีหักเหของแสงที่ได้สามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณต่างๆ เช่น Surface area, Refractive index, Dry mass, Volume, Sphericity หรือ Hemoglobin concentration (Hb) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีชุดควบคุมสภาวะแวดล้อม (Tomochamber) ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และ CO2 ใช้สำหรับการเลี้ยงเซลล์เป็นระยะเวลานาน
หมายเหตุ:  กรุณาติดต่อนักวิทยาศาสตร์ (ต้นกล้า อินสว่าง) เพื่อรับแบบฟอร์มคำขอใช้บริการ และนัดหมายวันเข้าใช้บริการ
พร้อมให้บริการ : ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา (RDI)ชั้น 1 ห้อง 1101
(https://maps.app.goo.gl/dpDJFP5mfm3kC5du5)

พร้อมให้บริการ : ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา (RDI) ชั้น 1 ห้อง 1101
คู่มือ : ดาวน์โหลดคู่มือ